Steaming Milk การทำสตรีมนม ฟองนม ทำอย่างไร ?

Steaming Milk การทำสตรีมนม ฟองนม ทำอย่างไร ?

สารบัญ

Concept of Milk Steaming

การสตรีมนมเป็นกระบวน การที่นำอากาศเข้าในนมและอุ่นนมเพื่อสร้าง Micro Foam หรือ ฟองอากาศขนาดเล็กในนม. ฟองอากาศที่อยู่ในนมมีคุณสมบัติที่ช่วยให้นมมีรสชาติและเนื้อสัมผัสที่เปลี่ยนไป และมักใช้ในการเติมกาแฟและเครื่องดื่มร้อนอื่น ๆ เพื่อเพิ่มความหอมและเนื้อครีมของนมดี.
Whey Protein และ Casein Micelle เป็นสองประเภทหลักของโปรตีนในนมที่มีบทบาทสำคัญในกระบวนการสตีมนม:

Whey Protein: Whey Protein เป็นโปรตีนที่มีลักษณะที่ช่วยให้ฟองอากาศเกิดขึ้นได้รวดเร็วและช่วยให้มีความเรียบเนียน ฟองอากาศที่เกิดขึ้นจาก Whey Protein มีความละเอียดและมีความแข็งแรงที่ทำให้มันเป็น Micro Foam ที่ดี ในกระบวนการสตีมนม, Whey Protein ช่วยเพิ่มอากาศลงในนมและเปลี่ยนมันเป็น Micro Foam. 

Casein Micelle: Casein เป็นโปรตีนที่ช่วยให้ฟองอากาศคงสภาพอยู่ในนมได้นานขึ้น ฟองอากาศที่เกิดขึ้นจาก Whey   Protein จะถูกห่อหุ้มโดย Casein Micelle ซึ่งช่วยให้ฟองอากาศคงคุณภาพและครีมเนื้อนมอยู่ในนมนานขึ้น. 

การสตรีมนมต้องใช้ความรอบคอบและความประณีตในการควบคุมอุณหภูมิและแรงดันของไอน้ำเพื่อสร้าง Micro Foam ที่ดีและครีมเนื้อนมที่มีคุณภาพ. การทราบหลักการนี้จะช่วยให้คุณสามารถสร้างกาแฟและเครื่องดื่มร้อนอื่น ๆ ที่อร่อยและคุณภาพดีมากขึ้นผ่านกระบวนการสตีมนม.

วิธีการสตรีมนม

1.เทนมใส่ Pitcherเทนมให้สูงประมาณขอบล่างของปากเหยือก หรือเทในปริมาณที่เหมาะสมตามที่ Pitcher ได้ถูกออกแบบมา
Pitcher
**ตำแหน่งการวางก้านสตีมนมสำคัญมาก ถ้าวางถูกนมก็จะวนดีและไม่จำเป็นต้องขยับ Pitcher ตลอดทั้งการสตีม**

2.เปิดก้านสตีมไล่ไอน้ำก่อนจุ่มก้านสตีมลงไปในนม

ไล่ไอน้ำในก้านสตีมออกก่อนที่จะจุ่มก้านสตีมลงในนม โดยให้ส่วนหัวสตีมจุ่มลงไปในนมสัก 2/3 ส่วน และห่างจากตรงกลางสักเล็กน้อย เพื่อให้แรงดันจากไอน้ำดันนมให้หมุนเป็นวงกลม

Steaming milk

3.เริ่มสตรีมและใส่อากาศ

เปิดเครื่องสตีมนมและเริ่มใส่อากาศเข้าไปในนม สามารถสังเกตปริมาณอากาศเข้าไปในนมได้จากเสียง
การใส่อากาศควรใส่เฉพาะตอนที่นมยังเย็นจนถึง 40 องศาเซลเซียส ดังนั้นถ้าเกิดฟองอากาศใหญ่ๆในช่วงแรกสามารถค่อยๆปรับให้ฟองอากาศมีขนาดเล็กลงได้ก่อนที่อุณหภูมิจะถึง 40 องศาเซลเซียส
ถ้าใส่อากาศเมื่อนมอุณหภูมิ 40 องศาขึ้นไป นมจะสามารถคงฟองอากาศได้ดีทำให้ฟองอากาศใหญ่และไม่เนียน
ปริมาณนมที่เพิ่มขึ้นหมายถึงปริมาณฟองนมที่มี

4.วนนม 
เมื่อได้ปริมาณฟองนมที่ต้องการแล้วจะเริ่มทำการวนนม การวนนมจะช่วยให้ฟองอากาศรวมตัวเข้ากับนมทั้งเหยือกโดยไม่แยกชั้น
การวนนมทำได้โดยขยับ Pitcher ขึ้นเล็กน้อยให้ส่วนปลายจมอยู่ในนมทั้งหมด และให้แรงดันไอน้ำดันนมให้หมุนเป็นวง

**ห้ามหมุน Pitcher ไปมา**

Steaming milk

5.หยุด
เมื่ออุณหภูมิของนมร้อนจนจับไม่ได้ หรือประมาณ 50 – 60 องศาก็ให้หยุดการสตีมนม ถ้านมที่สตีมร้อนเกินไป จะทำให้ฟองนมไม่เสถียรทำให้เกิดฟองขนาดใหญ่ได้ง่าย และก่อนที่จะนำมาใช้ให้เคาะ Pitcher แรงๆสัก 2 ครั้งเพื่อให้ฟองอากาศขนาดใหญ่แตกตัว
อย่าลืมไล่ไอน้ำออกจากก้านสตีมพร้อมกับทำความสะอาดคราบนมบนก้าน

ลักษณะของฟองนมที่ดีและฟองนมที่ไม่ดี

ฟองนมที่ดี ใส่อากาศเข้าไปตอนที่อุณหภูมิต่ำกว่า 40 องศา
Steaming milk
ฟองนมที่ไม่ดี ใส่อากาศเข้าไปตอนที่มีอุณหภูมิเกิน 40 องศา
Steaming milk
Facebook
Twitter
Email